ความหมายเพลงหน้าพาทย์
ความหมายของคำว่า “เพลงหน้าพาทย์” ความหมายในหนังสือโขนได้อธิบายว่า “รำหน้าพาทย์ ได้แก่ การรำตามทำนองเพลงดนตรีปี่พาทย์ที่บรรเลงประกอบ ยกตัวอย่าง เช่น เชิด เสมอ รัว ลา ตระ คุกพาทย์ กราวนอก กราวใน แผละ และโอด เป็นต้น การที่ฝึกหัดรำนาฏศิลป์ “เพลงช้า” และ “เพลงเร็ว” นั้นก็คือการ หัดรำหน้าพาทย์ นั่นเอง เพลงหน้าพาทย์ต้องทำตามรสนิยม และจังหวะทำนองเพลงดนตรี จึงอาจอธิบายได้ว่า เป็นเพลงที่มีปี่พาทย์เป็นหลัก เป็นประธาน ในแต่ละเพลง (ธนิต อยู่โพธิ์, 2511: 152-153 )
เพลงหน้าพาทย์แบ่งตามลักษณะเด่น ๆ ได้ 2 ประเภท คือ
- หน้าพาทย์สูง ซึ่งถือเป็นเพลงครู ใช้บรรเลงในโอกาสเฉพาะมีความขลังและความศักดิ์สิทธิ์อยู่ในทำนอง เช่น องค์พระพิราพ ตระนารายณ์บรรทมสินธุ์ ตระพระปรคนธรรพ ตระนิมิต ตระนอน ตระบองกัน สาธุการ บาทสกุณี พราหมณ์เข้า พราหมณ์ออก คุกพาทย์ เสมอผี เสมอสามลา เสมอมาร เสมอเถร
- หน้าพาทย์ปกติ ได้แก่ เพลงหน้าพาทย์ที่ใช้บรรเลงประกอบในพิธีและการแสดงทั่วไป เช่น เพลงช้า เชิด เสมอ รัว ลา โอด ปฐม เหาะ ทยอย (จตุพร รัตนวราหะ, 2500: 15)
เพลงหน้าพาทย์
หมายถึงเพลงที่ใช้บรรเลงประกอบอารมณ์และกิริยาอาการของตัวแสดงว่าเป็นอย่างไร โดยเฉพาะทำนองและจังหวะ จะจำกัดอยู่ในแบบแผนที่กำหนดไว้เป็นแบบแผนแน่นอน มิบังควรที่จะปรับปรุงแก้ไขเป็นอันขาด (เสรี หวังในธรรม, 2521-2525: 240)
ความหมายของเพลงหน้าพาทย์ เชิด – เสมอของละคร
เพลงหน้าพาทย์เชิด – เสมอ เป็นเพลงหน้าพาทย์ธรรมดา หรือหน้าพาทย์เบื้องต้น ซึ่งเป็นเพลงหน้าพาทย์ที่ใช้สำหรับกิริยาไป – มา ระยะไกล – ใกล้ กล่าวคือ เพลงเชิด ใช้สำหรับ ตัวละครที่ไป – มา ในระยะไกล ๆ หรือรีบด่วน เพลงเสมอใช้สำหรับตัวละครที่ ไป – มา ในระยะใกล้ ๆ (ขวัญฟ้า ภู่แพ่งสุทธิ์, 2563) ใช้บรรเลงประกอบกิริยาของตัวละคร ในการไปมา เช่น กิริยาจากการเดินห้องหนึ่งสู่ห้องหนึ่ง
เพลงเชิด เป็นการเคลื่อนย้ายร่างกายในระยะทางไกล ใช้สำหรับตัวละครที่เป็นเทพเจ้า กษัตริย์ มนุษย์ เช่น วิ่งหรือเดิน เป็นต้น การรำเชิดสามารถปรับใช้ได้กับบริบทของการแสดงนั้น ๆเพลงเสมอ ใช้เดินทางในระยะทางใกล้ เป็นการเคลื่อนย้ายร่างกายในระยะใกล้ (ดร.ธีรเดช กลิ่นจันทร์, สัมภาษณ์เมื่อวันที่ 3 สิงหาคม 2566)
หน้าพาทย์เชิดเสมอ เป็นเพลงหน้าพาทย์ธรรมดาที่มีแต่ทำนอง ไม่มีเนื้อร้อง เพลงเชิด ใช้เดินทางในระยะทางไกล เช่น ตามหาคนวนหนึ่งรอบ เพลงเสมอ ใช้เดินทางในระยะใกล้ เช่น ประตูบ้านถึงนอกบ้าน มีจังหวะไม้ลา ขึ้น 5 ลง 4 ตามจังหวะไม้ลา ( เสาวรักษ์ ยมะคุปต์, สัมภาษณ์เมื่อวันที่ 6 สิงหาคม 2566)
ความหมายเพลงหน้าพาทย์ เชิด – เสมอ
ความหมายในหนังสือโขนได้อธิบายว่า "รำหน้าพาทย์ ได้แก่ การรำตามทำนองเพลงดนตรีปี่พาทย์ที่บรรเลงประกอบ ยกตัวอย่าง เช่น เชิด เสมอ รัว ลา ตระ คุกพาทย์ กราวนอก กราวใน แผละ
อ่านเพิ่มเติมผู้ประดิษฐ์ท่ารำเพลงหน้าพาทย์ เชิด – เสมอ
จากการศึกษา ไม่ปรากฏข้อมูลที่แน่ชัด ซึ่งจากข้อสันนิษฐาน มีข้อมูลที่พบปรากฏอยู่ว่า มีการสืบทอดโดยพบหลักฐานจากการฝึกหัดของคณะละครวังสวนกุหลาบ ในสมัยรัชกาลที่ 6
อ่านเพิ่มเติมเครื่องดนตรีที่ใช้ประกอบการแสดงเพลงหน้าพาทย์ เชิด – เสมอ
ดนตรีที่ใช้ประกอบการแสดงเพลงหน้าพาทย์ เชิด – เสมอ เป็นวงดนตรีปี่พาทย์เครื่องห้า หรือ วงดนตรีปี่พาทย์เครื่องคู่ วงดนตรีปี่พาทย์เครื่องห้า ประกอบด้วย
อ่านเพิ่มเติมเครื่องแต่งกายเพลงหน้าพาทย์ เชิด – เสมอ
เครื่องแต่งกายเพลงหน้าพาทย์ เชิด – เสมอของละคร การแต่งกายขึ้นอยู่กับลักษณะ และสัญชาติตัวละครในเรื่องนั้น ๆ เช่น ตัวละครอิเหนา ละคร เรื่องอิเหนา แต่งกายแบบชวา
อ่านเพิ่มเติมโอกาสที่ใช้แสดงเพลงหน้าพาทย์ เชิด – เสมอ
การใช้โอกาสเพลงหน้าพาทย์ เชิด – เสมอนี้ใช้กับการแสดงทั่ว ๆ ไปในการเดินของของตัวละครทั่วไป เช่น ยกตัวอย่างการใช้เพลงหน้าพาทย์เสมอ
อ่านเพิ่มเติมท่ารำเพลงเชิด
ตัวพระ-ตัวนาง : ปฏิบัติเช่นเดียวกัน หน้าตรง กระทบ 1 ครั้ง มือทั้งสองช้อนข้อมือพนมมือขึ้นจรดหน้าผาก กระทบ 1ครั้ง และกระทบอีก 1 ครั้ง ลดมือที่พนมลงมาอยู่ระดับอก
อ่านเพิ่มเติมท่ารำเพลงเสมอ
ท่ายืนตัวพระ : เบี่ยงตัวทางขวาเล็กน้อย ศีรษะเอียงขวา มือขวาเดินมือเท้าเอว มือซ้ายแบวางที่หน้าขา งอแขนเล็กน้อย ยืดเข่าทั้งสองขั้น เลื่อนเท้าซ้ายมาทอดขาเหยียดตึง กดไหล่ขวา
อ่านเพิ่มเติม